อุโมงค์พระโขนง

โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าว
ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

วัตถุประสงค์
Ø เพื่อลดระดับน้ำในคลองแลนแสบและคลองลาดพร้าว
Ø ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในเขตห้วยขวาง บางกะปิ บึงกุ่ม ลาดพร้าว สวนหลวง สะพานสูง
การดำเนินโครงการ
Ø ก่อสร้างอุโมงค์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.00 เมตร รับน้ำจากคลองลาดพร้าวและคลองแสนแสบ คลองตัน ซอยสุขุมวิท 71 ถนนสุขุมวิท คลองพระโขนง สิ้นสุดที่สถานีสูบน้ำพระโขนง
Ø ก่อสร้างสถานีสูบน้ำเพิ่มเติมบริเวณประตูเรือสัญจรเดิม ขนาดกำลังสูง 60 ลบ.ม. ต่อวินาที ระบายน้ำลงสู่คลองพระโขนงไปลงแม่น้ำเจ้าพระยา
Ø งบประมาณค่าก่อสร้าง 2,094 ล้านบาท เริ่มดำเนินการ 23 กรกฎาคม 2546 สิ้นสุดสัญญา 1 กรกฎาคม 2550 รวมระยะเวลาดำเนินการ 1,440 วัน
ข้อมูลทั่วไป
          โครงการดังกล่าว เป็นการสร้างอุโมงค์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร มีความยาว 5.1 กิโลเมตร ลึกจาก  ผิวดินประมาณ 22-25 เมตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของคลองแสนแสบ และคลองลาดพร้าว และเพื่อลดระดับน้ำที่ผ่านคลองระบายน้ำ ซึ่งมีขีดจำกัดในการระบายน้ำ ด้วยการระบายน้ำผ่านอุโมงค์ใต้ดินลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรง
          เมื่อก่อสร้างเสร็จจะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนหนาแน่น โดยคลองแสนแสบนำน้ำจากด้านตะวันออกลงมาบรรจบคลองพระโขนง เพื่อระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และคลองลาดพร้าวนำน้ำจากพื้นที่ตอนบนลงมาบรรจบคลองแสนแสบ ที่บริเวณบึงพระราม 9 ระบายน้ำในพื้นที่เขตห้วยขวาง บางกะปิ บึงกุ่ม ลาดพร้าว สวนหลวง และเขตสะพานสูง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 150 ตารางกิโลเมตร ให้ระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างรวดเร็ว

สถานีสูบน้ำพระโขนง


สถานีสูบน้ำพระโขนง

ข้อมูลทั่วไป
Ø เดิมเป็นประตูระบายน้ำในความดูแลของกรมชลประทาน เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเกษตรและการเดินเรือสัญจร
Ø ในปีพ.ศ.2527  กรมชลประทานได้รับงบประมาณจากรัฐบาลและเงินทุนช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อปรับปรุง       เป็นสถานีสูบน้ำตามโครงการระบายน้ำทุ่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครตามแนวพระราชดำริ 
Ø ในปี พ.ศ.2531 กรมชลประทานได้โอนให้อยู่ในความดูแลและความรับผิดชอบของสำนักการระบายน้ำ  กรุงเทพมหานคร
Ø เป็นสถานีสูบน้ำที่มีประสิทธิภาพในการระบายน้ำมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร  (กำลังสูบรวม 155 ลบ.ม./วินาที)
Ø สถานีสูบน้ำพระโขนงตั้งอยู่ในซอยสุขุมวิท 50  ห่างจากปากซอยสุขุมวิท 50 ประมาณ 500 เมตร 
Ø พื้นที่สถานีสูบน้ำสร้างคร่อมคลองพระโขนงและอยู่ห่างจากปากคลองพระโขนงประมาณ 1 กิโลเมตร  รวมพื้นที่      สถานีสูบน้ำ 16 ไร่ 67 ตารางวา
หน้าที่รับผิดชอบ
Ø สูบระบายน้ำและควบคุมระดับน้ำในคลองพระโขนงซึ่งเชื่อมต่อกับคลองประเวศ คลองแสนแสบและคลองลาดพร้าว
Ø รับและระบายน้ำฝน,น้ำทิ้งจากชุมชนในเขตพระโขนง  บึงกุ่ม วัฒนา คลองเตย  มีนบุรี หนองจอก ประเวศ ลาดกระบัง ห้วยขวางและเขตลาดพร้าว   รวมพื้นที่รับผิดชอบ 360 ตารางกิโลเมตร
การปฏิบัติงานระบายน้ำ
ในช่วงฤดูฝน
Ø จะทำการเดินเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำและลดระดับน้ำในคลองโดยจะรักษาระดับน้ำในคลองอยู่ที่ประมาณ-0.50 ม.รทก. (ทั้งนี้การควบคุมระดับน้ำ และการเดินเครื่องสูบน้ำจะอาศัยระดับน้ำในคลองเป็นเกณฑ์ในการเดินเครื่อง)
Ø ส่วนกรณีที่คาดการณ์ว่าจะมีฝนตก หรือกรณีต้องการพร่องน้ำในคลอง จะรักษาระดับน้ำที่ -0.80 ม.รทก. เพื่อให้มีที่ว่างสำหรับปริมาตรความจุในการรองรับน้ำฝน
ในช่วงฤดูฝนและน้ำทะเลหนุน
Ø จะลดระดับน้ำในคลองให้มากที่สุด โดยจะควบคุมระดับน้ำให้อยู่ที่ระดับ -0.80 ม.รทก. รวมทั้งระดับน้ำในพื้นที่ทุ่งตะวันออกด้วย   
Ø จะทำการเดินเครื่องสูบน้ำทั้งหมดหมุนเวียนกัน  และป้อนน้ำจากทุ่งตะวันออกลงมาให้ทันกับ การเดินเครื่องสูบน้ำของสถานีสูบน้ำ  ผ่านมาทางประตูระบายน้ำกระทุ่มเสือปลา และประตูระบายน้ำตามแนวคันกั้นน้ำพระราชดำริ

อุปกรณ์ & เครื่องจักรกลในการระบายน้ำ
เครื่องสูบน้ำ
  1. ขนาดท่อดูด 48 นิ้ว กำลังสูบ/เครื่อง 3 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จำนวน  35 เครื่อง
  2. ขนาดท่อดูด 56 นิ้ว กำลังสูบ/เครื่อง 5 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จำนวน 10 เครื่อง
  3. รวมเครื่องสูบน้ำทั้งหมด 45 เครื่อง กำลังสูบรวม 155 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
ประตูระบายน้ำ


  1. ชนิด Sluice Gate เปิด-ปิดบานในแนวดิ่ง ขับเคลื่อนด้วยกว้านไฟฟ้า
  2. ประตูระบายน้ำ ขนาดกว้าง 5.6 ลึก 4.5 เมตร จำนวน 3 บาน
เครื่องเก็บขยะอัตโนมัติ(Automatic Trash Rakes&Screens) 


  1. ขนาดกว้าง 5 เมตร จำนวน 14 เครื่อง,ขนาดกว้าง 4 เมตร สูง 9.6 เมตร จำนวน 10 เครื่อง
  2. สายพานลำเลียงขยะ(Trash Belt Conveyor) จำนวน 7 ชุด
  3. ถังพักขยะ(Hopper) ขนาดความจุ 8 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 ชุด
Click Here To Earn $35 An Hour Clicking Ads.